ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

แนะทางรอด “ร้านอาหาร” เพิ่มช่องทางขาย ผ่าน 5 App Delivery


จากมาตรการควบคุมโรคที่เพิ่งประกาศออกมาให้ “ร้านอาหาร” ที่อยู่ใน “พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด” เปิดจำหน่ายเฉพาะซื้อกลับเท่านั้น วันนี้ ชี้ช่องรวย จึงอยากจะมาแนะนำช่องทางการขายที่ผ่านแอปฯ Delivery แบรนด์ต่างๆ เพื่อให้ผ่านพ้นช่วงนี้ไปได้ มาดูกันว่าจะมี แอปฯ และขั้นตอนอย่างไรบ้าง

1.GrabFood

5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ร้านค้า GrabFood

  1. สมัครเป็นพาร์ทเนอร์ร้านค้า GrabFood ผ่านเว็บไซต์ Grab
  2. ภายใน 5 นาที รับอีเมลพร้อมรหัสร้านค้าเพื่อกรอกแบบฟอร์มข้อมูลร้านค้าและแนบเอกสารสำคัญ กดส่ง
  3. Grab ทำการตรวจสอบข้อมูลและเอกสารของร้านค้า และจะได้รับอีเมลแจ้งผลภายใน 3-5 วันทำการ เมื่อเอกสารผ่าน ร้านค้าจะได้รับเอกสารสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอีเมล และเซ็นชื่อในสัญญา
  4. ภายใน 2 ชั่วโมง หลังจากเซ็นสัญญา ร้านค้าจะได้รับอีเมลเพื่อศึกษาวิธีการเปิดระบบร้านค้า ดาวน์โหลดแอปฯ
  5. เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านชั่วคราวจาก Grab ก่อนกำหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานด้วยตนเอง จากนั้นเพิ่มเมนูอาหาร เปิดสถานะร้านค้า และเสิร์ฟออเดอร์ของคุณได้เลย!

หมายเหตุ หากมีข้อมูลหรือเอกสารไม่ผ่าน (หลังจากการตรวจสอบในขั้นตอนที่ 3 หรือหลังจากเซ็นสัญญาในขั้นตอนที่ 4) ร้านค้าจะได้รับอีเมลเพื่อแจ้งแก้ไขข้อมูลและแนบเอกสารที่ถูกต้อง

ทั้งนี้ จะต้องส่งมอบเมนูอาหาร หลักฐานและเอกสารต่าง ๆ เพื่อทำการอัปโหลดขึ้นทางหน้า App Grab Food ด้วย โดยเอกสารที่ใช้ในการทำสัญญา ได้แก่

สำหรับบุคคลทั่วไป

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาบัญชีธนาคารกสิกรไทย หรือกรุงศรีอยุธยา (ต้องมีรายการเคลื่อนไหว)

สำหรับร้านค้าเป็นนิติบุคคล

  • สำเนาใบจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
  • สำเนาใบจดทะเบียนรับรองบริษัท ที่ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (โดยวันที่ออกหนังสือรับรองจะต้องไม่เกินระยะเวลา 3 เดือน นับจากวันที่มีผลบังคับใช้)
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
  • สำเนาบัญชีธนาคารกสิกรไทย หรือกรุงศรีอยุธยา (ต้องมีรายการเคลื่อนไหว)

ข้อควรรู้เบื้องต้นกับการเป็นพาร์ทเนอร์กับ Grab Food

  • GrabFood มีการเก็บค่าบริการรายเดือน คิดเป็นเปอร์เซ็นจากยอดขายผ่านแกร็บฟู้ดเท่านั้น และไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมเรียกเข้าแต่อย่างใด
  • ราคาอาหารใน Grab Food บางร้านจะมการบวกราคาเพิ่ม
  • ทำให้ราคาหน้าร้านกับราคาใน App ไม่ตรงกัน

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ GrabFood 

2.Line Man

สมัครง่ายๆ ด้วย 4 ขั้นตอน

  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Wongnai Merchant App (RMS) ฟรี ! iOS หรือ Android
  2. กรอกข้อมูลร้านค้าลงบน Wongnai Merchant App (WMA) เปิดแอปพลิเคชันขึ้นมา แล้วกด “ลงทะเบียนร้าน” (Sign up) ระบบจะพาไปหน้าลงทะเบียนร้านเดลิเวอรี่
  3. เพิ่มข้อมูลร้านให้ครบถ้วน กรอกชื่อร้าน แล้วกดลงทะเบียน หากไม่พบ ให้กด “คลิกที่นี่ เพื่อใส่ข้อมูลเอง” จากนั้น กรอกชื่อร้าน ประเภทธุรกิจ หมวดหมู่ เลือกตำแหน่งร้านค้าจากแผนที่ รายละเอียดผู้ติดต่อ ให้ครบถ้วนและเลือกความสนใจ
  4. รอรับรหัส OTP เพื่อยืนยันตัวตน

หลังจากลงทะเบียนแล้วจะได้รับรหัส OTP และคู่มือการใช้งานแอปพลิเคชัน ผ่านทาง SMS กรอกรหัส OTP ลงไปในแอปพลิเคชัน จากนั้นกรอกข้อมูลร้านและเมนูที่ขายตามคู่มือที่ได้รับ ก็เป็นอันเสร็จ เตรียมเริ่มขายผ่าน LINE MAN ได้ทันที

——————-

3.Foodpanda

วิธีสมัคร

  1. ลงทะเบียนออนไลน์ที่ foodpanda.co.th
  2. รอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเพื่ออนุมัติร้านอาหาร หลังจากผ่านการตรวจสอบร้านค้าจะได้รับอีเมลเพื่อกรอกข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้ง
  3. ร้านค้าจะต้องกรอกข้อมูลเพิ่มเติมผ่านลิงก์ที่แนบไปในอีเมลในข้อที่ 2. ให้ถูกต้องครบถ้วน
  4. รอทางเจ้าหน้าที่ของ Foodpanda ติดต่อกลับเพื่อขอรายละเอียดเมนูและยืนยันการเซ็นสัญญา
  5. ทำการตรวจสอบเมนูอาหารและสร้างร้านค้าบนระบบ
  6. Foodpanda จะมอบแท็บเล็ตให้ใช้งาน
  7. เจ้าหน้าที่ Foodpanda ให้คำปรึกษาและแนะนำการใช้งานแท็บเล็ตผ่านทางโทรศัพท์
  8. สามารถเปิดร้านอาหารบน Foodpanda เพื่อรับออร์เดอร์ได้เลย

ข้อควรรู้เบื้องต้นกับการเป็นพาร์ทเนอร์กับ Food Panda

  • Food Panda จะคิดค่าคอมมิชชัน 35% จากมูลค่าของออเดอร์ทั้งหมดที่สั่งผ่านทาง Food Panda สำหรับออเดอร์ที่ชำระผ่านบัตรเครดิต จะทำการละเว้นค่าธรรมเนียม 3% ให้
  • ร้านค้าที่ใช้บริการผ่าน Food Panda จะต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ไม่ได้เป็นร้านที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจาก Food Panda เป็นบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยภาษีมูลค่าเพิ่มจะถูกคำนวณจากค่าคอมมิชชั่นที่ทางร้านจะต้องจ่ายเรา (ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้าออเดอร์ 100 บาท (ราคาไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ส่วนแบ่งของ Food Panda จะเท่ากับ 35 บาท + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2.45 บาท ในขณะที่ส่วนแบ่งของทางร้านจะเป็น 62.55 บาท)

สอบถามเพิ่มเติมสามารถส่งอีเมลมาได้ที่ [email protected]

4.Gojek

วิธีสมัคร

เดิมคือ Get Food แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น Gojek Thailand โดยหากต้องการเป็นพาร์ตเนอร์ร้านอาหาร สามารถสมัครได้ดังนี้

  1. เข้าเว็บไซต์ gojek.com
  2. กดเลือกพาร์ตเนอร์ร้านอาหาร
  3. กรอกข้อมูลเบื้องต้น และกดยอมรับ
  4. หากร้านอาหารตรงตามเงื่อนไข จะได้เข้าสู่หน้ากรอกรายละเอียด และเขียนสัญญาการเข้าขายอาหารกับ Gojek ต่อไป

ข้อควรรู้ก่อนสมัครเป็นพาร์ทเนอร์กับ Gojek

  • การบริการของ Gojek จะมีค่าคอมมิชชันที่ 30% (ไม่รวม VAT 7%)
  • ร้านค้าจะต้องมีสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตในระบบ Android เพื่อใช้สำหรับแอปพลิเคชัน GoBiz ในการจัดการร้านค้า

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Gojek 

5.Robinhood

วิธีสมัคร

ผู้สมัครต้องมีบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ก่อน จึงสามารถลงทะเบียนร้านอาหารของตัวเองได้ หากมีบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์แล้วให้ทำตามขั้นตอนนี้

  1. ดาวน์โหลดแอปฯ Robinhood Shop (ดาวน์โหลดสำหรับ iOS และ Android)
  2. กดสมัครผ่านแอปฯ SCB EASY (ถ้ายังไม่มีแอปฯ SCB EASY ให้ดาวน์โหลดและลงทะเบียนก่อน)
  3. เข้าสู่ระบบแอปฯ SCB EASY
  4. กดอนุญาตให้ Robinhood เข้าถึงข้อมูล
  5. กดยอมรับเงื่อนไขการใช้บริการ
  6. เลือกผู้ให้บริการจัดส่ง และกดตกลง
  7. กรอกข้อมูลเจ้าของร้าน และรายละเอียดต่าง ๆ
  8. อัปโหลดรูปอาหาร
  9. กรอกรายละเอียดของร้าน เลือกประเภทอาหาร
  10. กรอกข้อมูลที่ตั้งร้านค้า
  11. เลือกบัญชีรับเงินและหักเงิน (เฉพาะบัญชีออมทรัพย์ หรือเดินสะพัดส่วนบุคคลเท่านั้น) แล้วกดยอมรับเงื่อนไข
  12. กรอกรหัส OTP ที่ได้รับทางโทรศัพท์
  13. สมัครใช้งานสำเร็จ รอรับอีเมลแจ้ง password เข้าใช้งาน จากนั้นล็อกอินเข้าระบบ Robinhood ได้เลย

เงื่อนไขการสมัครเบื้องต้น

  • ต้องมีบัญชี SCB ประเภทออมทรัพย์ หรือเดินสะพัด
  • มีแอปพลิเคชัน SCB EASY
  • เป็นร้านขายอาหาร รวมขนม และเครื่องดื่ม พร้อมสั่ง พร้อมส่ง พร้อมทาน ไม่รวมการขายอาหารสัตว์เลี้ยง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Robinhood