โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

6 เคล็ดลับตั้ง “ราคาสินค้า” ถึงราคาสูงแต่ลูกค้าก็มองว่าถูก และคุ้มค่า

การตั้งราคาสินค้าเป็นปัจจัยหลักที่ผู้ประกอบการจะต้องคิดให้รอบคอบ เพราะราคาสินค้าจะเป็นตัวชี้ชะตาความสำเร็จเลยก็ว่าได้ วันนี้ ชี้ช่องรวย มีเคล็ดลับดี ๆ มาฝากกับการตั้งราคาสินค้าอย่างไรให้ลูกค้ายอมจ่าย ถึงราคาจะสูงแต่ลูกค้ารู้สึกว่าไม่แพงแถมยังรู้สึกว่าคุ้มค่าอีกด้วย

1.ตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9

เทคนิคสุดเบสิคแต่ใช้ได้จริง ราคาอะไรก็ตามที่ลงท้ายด้วยเลข 9 หรือลดตัวเลขราคาหลักสุดท้ายลงมาหนึ่งหน่วยให้เป็นเลข 9 ลูกค้าจะรู้สึกว่าราคานั้นถูกลงซึ่งในความเป็นจริงลดลงมาแค่บากเดียวเท่านั้น เช่น เสื้อราคา 199 กับ 200 บาท ซึ่งส่วนใหญ่ยังไงลูกค้าก็จะเลือกซื้อสินค้าราคา 199 บาท ก่อน เพราะให้ความรู้สึกว่าราคาไม่เกิน 200 และถูกกว่ามาก แค่ร้อยกว่าบาทเอง!

2.ตั้งราคาแบบลดแลกแจกแถม

ปกตอแล้วเราจะต้องราคาโดยใส่ตัวเลขของราคาสินค้านั้นๆ ให้เห็นอย่างชัดเจน ลองเปลี่ยนมาเป็น ‘ซื้อ 1 แถม 1’, ‘ซื้อ 2 แถม 1’, ‘ลดราคาเป็นเปอร์เซ็นต์’ หรือ ลดราคาเป็นจำนวนเงิน เป็นอีกวิธีการตั้งราคาขายที่จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วขึ้น และมองว่าสินค้าเหล่านั้น “ถูกลง” และคุ้มกว่าการซื้อสินค้าแค่ชิ้นเดียวแต่ต้องจ่ายราคาเต็ม

3.ใช้สีสันของป้ายราคากระตุ้นความน่าสนใจ

โดยเฉพาะสีแดงเป็นสีกระตุ้น “ความอยากซื้อ” เพราะคนส่วนใหญ่มีความเข้าใจว่าสีแดงเท่ากับสินค้ามีราถาที่ถูกกว่าปกติ นี่จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่เวลาลูกค้าหรือแม้แต่ตัวเราเองเห็นป้ายโปรโมชันหรือป้ายลดราคาที่เป็นสีแดงแล้วต้องรีบเข้าไปเลือกซื้อสินค้านั้นทันที เพราะว่าสีแดงเป็นสีที่ช่วยกระตุ้นความอยากช้อปนั่นเอง

4.ใช้ฟอนต์ขนาดเล็กทำให้รู้สึกว่าราคาไม่แพง

เพราะการทำให้ฟอนต์มีขนาดเล็กลงจะช่วยทำให้ลูกค้ารับรู้จำนวนราคาน้อยลงไปและรู้สึกว่าราคาสินค้าชิ้นนั้นมีราคาที่ไม่ได้แพงมากอย่างไม่รู้ตัว แต่ในทางกลับกันถ้าร้านค้าออนไลน์อยากให้ลูกค้ารับรู้เรื่องของราคามากขึ้น ร้านค้าควรขยายฟอนต์ให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งวิธีนี้จะใช้ในตอนที่ลดราคาสินค้าหรือออกโปรโมชันใหม่ ๆ

5.เครื่องหมาย (,) ทำให้รู้สึกว่าราคาแพง

การใส่เครื่องหมายคอมม่าในตัวเลขของราคา จะทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงมูลค่าสินค้าที่สูงขึ้น แต่เมื่อเอาเครื่องหมายคอมม่าออก จะทำให้ลูกค้าเห็นว่าจำนวนหลักและการออกเสียงของตัวเลขก็ดูน้อยลง และรู้สึกว่าสินค้าชิ้นนั้นไม่ได้มีราคาแพง

ตัวอย่าง : ระหว่างการตั้งราคาขายสินค้า 1,999 ราคานี้จะอ่านว่า “หนึ่ง-พัน-เก้า-ร้อย-เก้า-สิบ-เก้า” กับราคาสินค้า 1999 คำอ่านจะเป็น “หนึ่ง-เก้า-เก้า-เก้า” เรื่องแค่นี้ก็มีผลต่อความรู้สึกส่งผลถึงการตัดสินใจซื้อได้

6.ส่งฟรี ใคร ๆ ก็ชอบ

แน่นอนว่าการซื้อสินค้าในยุคปัจจุบันมักจะพวกค่าขนส่งตามมาด้วย “ค่าจัดส่ง” เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าคิดแล้วคิดอีกว่าจะช้อปต่อหรือไม่ แม้ว่าสินค้านั้นจะราคาถูกแค่ไหนแต่พอเจอบวกค่าจัดส่งเข้าไป ลูกค้าจะรู้สึกว่าแพงขึ้นมาทันที วิธีนี้จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าไวขึ้น ปิดการขายง่าย เพราะราคารวมส่งแล้วเรียบร้อยและยังให้ความรู้สึกว่าราคาสินค้านั้นถูกลง

ขอบคุณข้อมูลจาก : page365