ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

รู้หรือไม่ “เงินเฟ้อ” คืออะไร และมีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง


ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สภาวะ “เงินเฟ้อ” แล้วรู้หรือไม่ว่าเงินเฟ้อนั้นหมายถึงอะไร และมีปัจจัยหรือสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดสถานการณ์แบบนี้ขึ้น และส่งผลอย่างไรกับเราบ้าง วันนี้ ชี้ช่องรวย จะมาบอกให้ว่า “เงินเฟ้อ” คืออะไร และมีสาเหตุเกิดจากอะไรบ้าง ให้ได้เข้าใจพร้อมกัน

“เงินเฟ้อ” หมายถึง เงินเฟ้อ (Inflation) หรือภาวะเงินเฟ้อ หมายถึง ภาวะที่ราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งหากเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากจะกระทบต่อฐานะและความเป็นอยู่ของประชาชน

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ หลักๆ ได้แก่

  1. ประชาชนต้องการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น (เรียกว่า Demand–Pull Inflation) ประกอบกับสินค้าและบริการน้ันๆ ในตลาดไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ขายปรับราคาสินค้าและบริการสูงข้ึน
  2. ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (เรียกว่า Cost–Push Inflation) กล่าวคือ หากผู้ผลิตไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นได้ จะทำให้ผู้ผลิตต้องปรับราคาสินค้าและบริการให้สูงขึ้นด้วย

ยกตัวอย่าง แบบง่ายๆ เมื่อ ครึ่งปีก่อน เงิน 50 บาท เราสามารถซื้อข้าวกระเพาหมูกรอบได้ 1 จาน แต่ปัจจุบัน เงิน 50 บาทไม่สามารถซื้อข้าวกระเพาหมูกรอบได้อีกต่อไป เนื่องจากต้นทุนของวัตุดิบที่สูงขึ้น จะเห็นได้ว่ากำลังซื้อ (Purchaes Power) ของเงิน 100 บาท ลงลงอย่างมาก

ผลกระทบจากเงินเฟ้อ

ภาวะเงินเฟ้อ คือ สิ่งที่จะทำให้กำลังซื้อของเราลดลงหรือมูลค่าที่แท้จริงของเงินลดลง ทั้งหมดจะส่งผลให้ต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อสินค้าปริมาณเท่าเดิม โดยผลกระทบของเงินเฟ้อที่สามารถเห็นได้เป็นรูปธรรม ได้แก่

  • ค่าครองชีพสูงขึ้น จากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น
  • ต้นทุนของสินค้าสูงขึ้น จากการที่สินค้าที่เป็นวัตถุดิบของสินค้าอีกหนึ่งเพิ่มขึ้น
  • มูลค่าที่แท้จริงของเงินลดลง การปล่อยเงินทิ้งไว้เฉย ๆ โดยไม่ลงทุนจะทำให้เมื่อเวลาผ่านไปเงินก้อนนั้นจะไม่สามารถซื้อสินค้าได้เท่าเดิม

นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ คือ ผู้ที่ต้องรับเงินในอนาคตโดยที่ไม่ปรับตามเงินเฟ้อ เช่น A ติดหนี้ B 100,000 บาทโดยจะจ่ายคืนใน 6 ปี แต่ถ้าหากผ่านไป 6 ปี อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น 10% หรือก็คือของที่ซื้อได้ในราคา 100,000 เมื่อ 6 ปีก่อน ปัจจุบันต้องใช้เงิน 110,000 บาท แต่หนี้ที่ A ต้องใช้ B ก็คือ 100,000 เท่าเดิม จะเห็นว่า B เสียผลประโยชน์จากการขาดทุน 10,000 บาทเมื่อเทียบเงินจำนวนดังกล่าวเป็นกำลังซื้อ

ใครเป็นผู้ดูแลเรื่องเงินเฟ้อ

1.กระทรวงพาณิชย์

ส่วนหนึ่งคือการดูแลราคาสินค้าและบริการไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสหรือเอาเปรียบผู้บริโภค หรือตรึงราคาไว้ในช่วงที่สินค้าขาดแคลนระยะสั้น นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ติดตามรวบรวมข้อมูลราคาสินค้าและบริการที่ผู้บริโภคซื้อเป็นประจำทุกวันจากตลาดและแหล่งจำหน่ายต่าง ๆ ทั่วประเทศ นำมาคำนวณจัดทำเป็นดัชนีที่เรียกว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบภาวะเงินเฟ้อสามารถวัดได้จากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีดังกล่าว ซึ่งเรียกตัวชี้วัดนี้ว่า อัตราเงินเฟ้อ

2.ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

ดำเนินนโยบายการเงินผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อดูแลเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน ซึ่งเอื้อต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว และความกินดีอยู่ดีของประชาชน