ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

“Kick Off งานสร้างสื่อ E-Training ปี 2565 สคช. มุ่งเน้น สื่อที่พัฒนาขึ้นต้องตรงไปตรงมา มุ่งไปสู่การทำอาชีพได้จริง”


วันนี้ 8 กุมภาพันธ์ 2565 คุณพิริยพงศ์ แจ้งเจนเวทย์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมคุณวุฒิวิชาชีพได้เข้าร่วมการประชุมเปิดโครงการ (Kick Off Meeting) และนำเสนอรูปแบบแนวทางการดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนาชุดฝึกอบรมการเรียนรู้ออนไลน์คู่มือการใช้งานสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ คู่มือการใช้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ และสื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อการพัฒนาสมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ ณ ห้องกุมาริกา อาคาร 1 ชั้น 2 โรงแรมสวนดุสิต เพลส โดยคุณอัฐพล ไชยอนันต์ นายกสมาคมดิจิทัลเพื่อการศึกษาไทย กล่าวเปิดการประชุม

 

 

ทั้งนี้คุณพิริยพงศ์ แจ้งเจนเวทย์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมคุณวุฒิวิชาชีพ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการ และความสำคัญของระบบการเรียนรู้ E-Training ว่า … “ต้องตอบโจทย์กำลังคนภาคแรงงาน ที่สำคัญต้องนำไปใช้ได้จริง โดยต้องสื่อเนื้อหาได้แบบตรงไปตรงมา จับต้องได้ นำไปสู่การทำอาชีพได้จริง นำบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัล แบบ Virtual Clasroom ส่งมอบสื่อการฝึกอาชีพได้ถูกต้อง เหมาะสม และทันเวลา สถาบันฯ เชื่อมั่นในการพัฒนาชุดฝึกออนไลน์ ที่เน้นสร้างการเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพอย่างแท้จริง ทั้งนี้มีหน่วยงานภายนอกที่เชื่อมั่นพร้อมเชื่อมโยงระบบ e-traning เช่น SME Academy 365 (สสว) SCB Academy (SME D Bank) Thai MOOC DTAC AIS และ บสย. เป็นต้น การฝึกอาชีพแบบออนไลน์ในยุค New Normal สมามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา เมื่อไหร่ ก็สามารถเรียนได้ โครงการพัฒนาชุดฝึกอบรมการเรียนรู้ออนไลน์ฯ นี้ นับเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนระบบคุณวุฒิวิชาชีพอย่างเต็มระบบ เป็นกลไกลสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมให้กำลังคนของประเทศได้รับการยกระดับสมรรถนะในการประกอบอาชีพให้สูงขึ้นตามระบบคุณวุฒิวิชาชีพ นำไปสู่ความสามารถในการยกระดับให้เป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น เพิ่มโอกาส สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม อย่างมั่นคง และยั่งยืน”

 

 

 

การ Kick Off โครงการในครั้งนี้ มุ่งหวังอย่างยิ่งเพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงการพัฒนาสมรรถนะของตนเองตามมาตรฐานอาชีพ ให้กับกำลังคนในสาขาอาชีพต่างๆ ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งช่องทางและความน่าสนใจของสื่อ สร้างแรงจูงใจ และส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยสื่อที่มีคุณภาพ เข้าใจง่าย และเข้าถึงได้ง่าย สำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning) สำหรับการประเมินความรู้และทักษะที่จำเป็น (Gap-Training) ให้มีความพร้อมก่อนการเข้ารับการประเมินสมรรถนะของบุคคล ตามมาตรฐานอาชีพ โดยในปี 2565 มีการพัฒนาชุดฝึกอบรมการเรียนรู้ออนไลน์ 7 สาขาวิชาชีพ 15 อาชีพ 40 คุณวุฒิวิชาชีพ

– สาขาวิชาชีพเกษตรกรรม
– สาขาวิชาชีพบริการยานยนต์
– สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย
– สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา
– สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล
– สาขาวิชาชีพโลจิสติกส์
– สาขาวิชาชีพการท่องเที่ยว การโรงแรม ภัตตาคารและร้านอาหาร

 

 

โดยมีผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมให้ความเห็นในการออกแบบชุดฝึกอบรมการเรียนรู้ออนไลน์ จากหลากหลายหน่วยงาน ได้แก่
กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม, วิทยาลัยเทคโนโลยียานยนต์โตโยต้า, บริษัท พูนเพิ่ม เซอร์วิส จำกัด, บริษัทมิตซูบิชิมอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด, มหาวิทยาลัยมหิดล, สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์ (cipat), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, มหาวิทยาลัยสยาม, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, สมาคมธุรกิจคลังสินค้า ไซโลและห้องเย็น, โรงเรียนการท่องเที่ยวและบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย

 

 

ปัจจุบัน สถาบันฯ ได้พัฒนาชุดฝึกอบรมตามมาตรฐานอาชีพแล้ว จำนวนกว่า 400 ชุดฝึกอบรม และสื่อการฝึกอบรมห้องเรียนอาชีพออนไลน์ TPQI Virtual Classroom จำนวนกว่า 50 หลักสูตร และในปีงบประมาณ 2565 จะพัฒนาสื่อการฝึกอบรมตามมาตรฐานอาชีพเพิ่มอีก 40 ชุดฝึกอบรม และเผยแพร่ผ่านระบบ TPQI E-Training Platform ที่ e-training.tpqi.go.th

#สคช. สร้างชุดฝึก สู่การประกอบอาชีพได้จริง

#สมาคมดิจิทัลเพื่อการศึกษาไทย พัฒนาชุดฝึกไทย ทันสมัย ใช้ได้จริง