โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

ชี้ช่องรวย แนะวิธีการค้นหาธุรกิจที่เหมาะสมกับตัวเรา สำหรับคนที่อยากเริ่มต้นทำเป็นของตัวเอง

หลายคนที่อยากเริ่มต้นธุรกิจสักอย่าง ก็คิดไม่ออกว่าจะเริ่มต้นอย่างไร บางทีการหาธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมาเริ่มต้นนั้นก็ไม่ยากเกินไป เป็นสิ่งที่อยู่รายรอบเรา เพียงแต่เราได้ฉุกคิดและลองแสวงหา นี่คือแนวทางในการค้นหาไอเดียธุรกิจ

1.ชีวิตประจำวันที่เราพบเห็นอยู่ทุกวัน

เชื่อว่าทุกคนต้องมีความรู้สึกถึงสิ่งรอบตัวในแต่ละวัน แต่ละสถานที่ ที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการหรือไม่สามารถแก้ปัญหา หรืออำนวยความสะดวกได้เท่าที่คิด การสร้างธุรกิจ ไม่จำ เป็นต้องเริ่มจากการมีเงินลงทุนจำนวนมากก่อน แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องเริ่มต้นจากความคิดที่ต้องการประกอบธุรกิจ ต้องการจะประสบความสำเร็จในชีวิต มีความคิดสร้างสรรค์และมุ่งมั่นแสวงหาโอกาส เพื่อตกผลึกว่า “ต้องการจะทำ ธุรกิจอะไร” โดยจะมีคำ ถามที่ตามมามากมาย เช่น “จะทำ อย่างไร” “จะเริ่มต้นยังไง” “จะทำ ให้ประสบความสำเร็จอย่างไร” และ“ไม่แน่ใจว่าจะทำ ดีหรือไม่” การจุดประกายทางธุรกิจ การสร้างและค้นหาไอเดียธุรกิจที่เหมาะกับเรา เช่น เดินเข้าซอยบ้าน อยากซื้อน้ำเต้าหู้ ทำไมไม่มีขาย ซอยนี้มีคนอยู่มาก และปัจจุบันคนดูแลสุขภาพน่าจะขายได้ นำไปสู่ความคิดในการเริ่มต้นที่จะตอบสนองความต้องการของตนเองและอีกหลายคน ซึ่งต้องมากพอสำหรับการสร้างเป็นธุรกิจ เช่น พัฒนาการบริการ รับซ่อมรถ/ล้างรถถึงบ้าน การบริการส่งผักสดผลไม้ตามเมนูสุขภาพเป็นประจำที่บ้าน

2.สิ่งที่เรารัก ถนัด เก่ง จุดเด่น งานอดิเรก

เลือกประเภทธุรกิจที่เหมาะสมกับตนเองโดยดูจากความชอบ ความถนัด ความสนใจของตนเองเป็นหลัก รวมถึงบุคลิก ลักษณะนิสัยของตนเอง โดยลองเรียบเรียง จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ดูว่าความสามารถ ความถนัด และความชอบที่แท้จริงของเราคืออะไร เช่น แม่บ้านชอบเย็บปักถักร้อย เปิดร้านขายอุปกรณ์ และสอนเย็บปัก ถักร้อย อาจเริ่มต้นธุรกิจจากงานที่ตนเองทำ อยู่ หรือการต่อยอดธุรกิจของทางบ้าน เพราะการทำ ในสิ่งที่เรารักและถนัด จะทำ ให้มีความสุขและมีความสนใจอยากแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอยู่เสมอ

3.ดัดแปลงจากธุรกิจที่เคยพบเห็น ของเดิมนำมาปรับใหม่หรือเป็นนวัตกรรมใหม่

เราสามารถนำนวัตกรรมมาสร้างโอกาส และช่องทางใหม่ๆ ที่ต่างออกไป นวัตกรรมไม่จำ เป็นต้องเป็นสิ่งใหม่ ของดั้งเดิมตั้งแต่บรรพบุรุษก็สามารถกลายเป็นนวัตกรรมได้ ด้วยการต่อยอดจากความคิดสร้างสรรค์ ทำ ให้สนองความต้องการ เพิ่มขึ้นหรือสร้างความต้องการใหม่ เช่น การนำผ้าขาวม้ามาทำเป็นผลิตภัณฑ์กระเป๋าต่างๆ ทำปกสมุด กระเป๋าใส่ไอแพด

4.ซื้อธุรกิจเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือมองหาธุรกิจแฟรนไชส์ ลดความเสี่ยง การเริ่มต้นโดยลำพัง 

4.1 ซื้อธุรกิจเดิม ต้องประเมินเหตุผลที่คนเดิม ไม่ทำ ต้องยอมรับภาระหรือสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น โดยต้อง มีวิธีและความพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างมั่นใจ เช่น ลูกจ้างได้รับกิจการจากนายจ้างหรือผู้สูงวัยไม่มีทายาท สืบทอดกิจการ

4.2 ธุรกิจแฟรนไชส์มีบริษัทผู้ขายแฟรนไชส์วางระบบการบริหารจัดการ จัดหาสินค้า/บริการซึ่งเป็นที่ยอมรับของตลาดแล้ว นับเป็นการลงทุนธุรกิจทางลัด ทำ ให้เราไม่ต้องกังวลในเรื่องจะบริหารจัดการธุรกิจอย่างไร จะโฆษณา ประชาสัมพันธ์สินค้า/บริการอย่างไร แต่ก็ยังมีความเสี่ยง หากผู้ขายแฟรนไชส์ไม่มีระบบการบริหารจัดการที่อาจเกิดปัญหาที่ส่งผลต่อผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ ดังนั้นก่อนซื้อแฟรนไชส์มีหลักการที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ดังนี้

●สำรวจและสอบถามจากผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์นั้นอยู่ก่อน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น การลงทุนธุรกิจนี้ คุณภาพสินค้าที่ขายเป็นอย่างไร ลูกค้านิยมหรือไม่ บริษัทแม่จัดส่งสินค้าให้ทันหรือไม่ และเพียงพอหรือไม่ อะไรคือปัญหาของธุรกิจนี้ ร้านของคุณทำกำ ไรได้หรือไม่

● สำรวจตนเองมีความพร้อมในการบริหารงานหรือไม่ การทำธุรกิจแฟรนไชส์ไม่ใช่เพียงแต่มีเงินลงทุนแล้วให้บริษัทแม่บริหาร แต่การทำ ธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการลงทุนในธุรกิจที่มีการวางระบบไว้แล้ว ซึ่งผู้ลงทุนต้องลงมือทำ เองหรือบริหารเองตามระบบงานที่มีบริษัทแม่เป็นผู้สนับสนุน

● สำรวจบริษัทผู้ขายแฟรนไชส์มีตัวตนอย่างไร ชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ ความชำนาญในธุรกิจ เป้าหมาย และกิจกรรมที่บริษัทแม่ดำ เนินการ สามารถตรวจสถานะของบริษัท ได้จากเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th และตรวจสอบว่า ได้รับเครื่องหมายรับรองเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานแฟรนไชส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือไม่ ซึ่งเครื่องหมายดังกล่าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะมอบให้แก่ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ผ่านการประเมินเกณฑ์คุณภาพ มาตรฐานแฟรนไชส์จากผู้ทรงคุณวุฒิ

● ประเมินยอดขายและระยะเวลาคืนทุนของสินค้า/บริการ โดยวิเคราะห์ว่า มีตลาดตรงกับความต้องการ ลูกค้านิยมมากพอ และสามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องไม่มีคู่แข่งมากเกินไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับทำ เล และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในชุมชนนั้น

ขอขอบคุณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า