ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

3 กูรูชั้นนำในวงการ เอสเอ็มอีไทย ชี้ยอมรับกับสถานการณ์ ปรับตัวให้เร็ว ลดหนี้สินให้มาก ทำตัวให้คล่องแคล่ว มีตัวตนให้ได้


งาน มหกรรม “ Smart SME EXPO 2022” จัดเสวนา“โอกาสของ SMEs ไทย หลังโควิด และ วิกฤติสงคราม รัสเซีย ยูเครน” ได้เชิญตัวแทนจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับ เอสเอ็มอี มาช่วยกันมองถึงทางออกของธุรกิจขนาดเล็กให้ผ่านพ้นจากวิกฤตดังกล่าวได้

มหกรรม “ Smart SME EXPO 2022” จัดเสวนา“โอกาสของ SMEs ไทย หลังโควิด และ วิกฤติสงคราม รัสเซีย ยูเครน” โดยมีคุณวิเชษฐ ตันติวานิช ประธานกรรมการ บริษัท พีเอ็มจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นพิธีกร และมีวิทยากรที่ได้รับการเชิญมางานเสวนาในหัวข้อนี้ประกอบด้วย คุณมงคล ลีลาธรรม ประธานคณะกรรมการบริหารสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คุณแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย และคุณอภิชิต ประสบรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรม

คุณแสงชัย บอกว่าเราเจอโควิด และยังอยู่กับเรา ส่วนสงครามรัสเซีย-ยูเครนก็มา ซึ่งส่งผลให้เรามีระเบิดเวลา 3 ลูก คือเกิดหนี้ครัวเรือน หนี้เสีย หนี้นอกระบบ ปัจจัยการผลิตจากต่างประเทศก็สูง เศรษฐกิจฟืดและเงินเฟ้อ หนี้เพิ่ม ปัญหาหนี้เสีย เอสเอ็มอีไม่อยู่ในระบบได้ เป็นหนี้เสียตามมา ต่อมาเรื่องคนว่างงาน เป็นวิกฤตมาก

คุณมงคลกล่าวว่า ทำให้รายได้หด ต้นทุนเพิ่ม หนี้เพิ่ม ซึ่งเป็นปัญหาทั่วโลก ควรหันมาตั้งสติ และการสังเกตตลอด เพราะจากนี้ไปมีความผันผวน ซับซ้อน เหมือนอยู่ในห้องมืด ต้องตั้งสติ รัฐบาลช่วยเอสเอ็มอี แต่ส่วนใหญ่เข้าไม่ถึง วันนี้คิดและทำเหมือนเดิมไม่ได้ ต้องหาโอกาสใหม่ หาอาชีพใหม่ หลายคนที่อยู่เหนือเราอาจเจ๊งได้ ต้องเปลี่ยนวิธี ไม่ควรจมในเรื่องอดีต ต้องมุ่งไปข้างหน้าและหาทางออก อย่างไรก็ตามคนตัวเล็กความเสี่ยงต่ำ ทำตัวให้เบา ขายทรัพย์สิน เพื่อไปจ่ายหนี้สิน ต้องรีดไขมันให้ออก ต้องยืดหยุ่น อย่าเลือกงาน จะไปด้วยดี สินเชื้อที่ต้องขอคือสินเชื่อการค้า เพราะจะหนุน SME กว่า เพราะสินเชื่ออื่นไม่อนุมัติ วันนี้เห็นสินค้าอะไรดี เข้าไปร่วมขาย คนตกงานมีบริษัทขายตรง ให้ไปหาความรู้เพิ่ม แล้วปรับไปสู่สายงานใหม่ ควรมีความคิดเป็นบวก มีความขยัน สิ่งที่เราต้องระวังคือ สินค้าคงคลัง ต้องหมุนมาเป็นเงิน และต้องเข้าใจความอนิจจังของโลกใบนี้ เพื่อให้เราได้ปรับใจได้ เราต้องอยู่เพื่อชีวิต เพื่อให้เราแข็งแรง มีชั่วโมงการทำงานที่มากกว่า

คุณอภิชิต สมาชิกสภาอุตสาหกรรมส่วนใหญ่กว่า 80% เป็น SME ช่วงความผันผวนที่ผ่านมาจนถึงสงครามรัสเซียยูเครน ถูกท้าทายมาตลอด มี 45 กลุ่มอุตสาหกรรมดั้งเดิมหนีตลอด ในมุม SME ปัญหาแบ่งเป็น
1. การตลาด
2. การเงิน กู้ไม่ได้ เพราะไม่มีเทคโนฯ ความรู้ต่าง ๆ เป็นอุปสรรคไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ ถ้าเราสังเกต SME กู้เงินไม่ได้ 3.2 ล้านราย สมาชิกสสว.แค่หลักแสน เป็นพวกที่มีตัวตน หรืออีกล้านรายไม่มีตัวตน ไม่ทำบัญชี ทำให้ธนาคารให้กู้เงินยาก เพราะนายธนาคารจะปล่อยกู้เงินไม่ไว้ใจใครทั้งหมด ไม่มีสมุดบัญชี คิดจะผลิตสินค้าต้องมองต้นทุน ก่อนมองกำไร นอกจากนี้ยังลืมต้นทุนตัวเอง ปัญหาพวกนี้ เอสเอ็มอี ไปซื้อวัตถุดิบมาประกอบไปขาย แต่ไม่มีความรู้ในการทำบัญชี แต่ถ้าแค่เพิ่มการทำบัญชี อีกด้านหนึ่งเอสเอ็มอี มีทัศนคติไม่ดีกับการเสียภาษี แต่จริง ๆ ยิ่งเสียภาษีมากเท่าไหร่ เป็นทางเปิดในการขอสินเชื่อ ถ้ามียอดขายไม่เกิน 1.5 แสนบาทต่อเดือนไม่ต้องเสียภาษี หากเราทำบัญชีเดียวก็จะได้ประโยชน์ ปัจจุบันสภาอุตสาหกรรมเชิญให้ทุกกลุ่มเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่ม Life Exchange

ต่อมาคุณแสงชัยได้กล่าวเสริมต่อว่า จากโควิดทำให้รายได้ลดลง ภาคบริการและการค้ามี 80% มีภาคการผลิตแค่ 17% ปัญหาต่อไปคือต้นทุนที่เป็นปัจจัยการผลิต ต่างล้วนพึ่งพาเกษตร แผนการแก้ปัญหาต้องดูที่ต้นน้ำด้วย คือการส่งเสริมวัตถุดิบในประเทศให้มากกว่านี้ ห่วงโซ่อุตสาหกรรมปศุสัตว์ เราพึ่งต่างประเทศมาก แต่ไม่สนับสนุนในประเทศ ไม่มีการทำโควต้า เพื่อลดปัญหาราคาแพง สิ่งที่เห็นวันนี้คือราคาน้ำมันแพงกว่า 40% ต่างเป็นผลต่อ SME

สินค้าทุกตัวขึ้นราคา เป็นต้นทุนที่ SME แบกรับ สินเชื่อการเข้าถึงแหล่งทุน หนี้พร้อมจะเสียมีประมาณกว่า 20% ซึ่งเป็นอันตรายมาก สัญญานเตือนภัยคือสินเชื่อรถ บ้าน บัตรเครดิต ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อที่รายเล็กมีส่วนเกี่ยวข้อง สิ่งสำคัญคือปัญหาคนว่างงานประมาณ 5% ของประชากรวัยแรงงาน นอกจากนี้เราจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถของ SME เพื่อรองรับแรงงานใหม่ที่จะเข้ามา

รายได้การท่องเที่ยวลดลงอย่างมาก ปีนี้ก็ไม่ได้ดีขึ้นกว่าเดิม สิ่งที่เป็นความเหลื่อมล้ำอย่างหนึ่งคือ เราควรส่งเสริมให้แฟรนไชส์สัญชาติไทยสามารถขยายในประเทศและสามารถไปเติบโตในต่างประเทศได้ ตัวเลขการส่งออกเกินดุล แต่เป็นสัดส่วนของเอสเอ็มอีที่น้อย และขาดดุลมาตลอด แต่มีจุดแข็งขายกับ CLMV มาก ดังนั้นจำเป็นต้องส่งเสริม

คุณมงคลกล่าวว่า โอกาสของเอสเอ็มอีมี แต่เรื่องที่สำคัญคือคนทำอาชีพอิสระให้เข้าระบบ ไม่ใช่เรื่องภาษีอย่างเดียว จะมีการหนุนเรื่องประกันสังคม ประเทศไทยอาชีพที่ไม่มีอยู่ในระบบมีมากพอ ๆ กับที่อยู่ในระบบ ควรเข้าม. 40 เพราะเสียเงินไม่มาก แต่มีเงินออมตอนอายุมาก

นอกจากนี้ทางสสว.ได้จับมือกับกรมบัญชีกลาง เพื่อให้เอสเอ็มอีเข้าไปขายสินค้ากับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับคนในท้องถิ่นก่อน โดยมีการให้แต้มต่อให้เอสเอ็มอีได้ประโยชน์มากกว่ารายใหญ่ สิ่งเหล่านี้เป็นกระแสทั่วโลก ไทยประกาศสัดส่วนประมาณ 30% สิ่งเหล่านี้เป็นตัวช่วย เรื่องพวกนี้เราต้องแสดงตน และจะนำไปสู่ระบบการช่วยเหลือภาครัฐผ่านทางดิจิทัล ซึ่งขณะนี้ทาง สสว.ก็เริ่มอยู่ และมีหน่วยงานอื่นสนับสนุนด้วย เช่น อย. กรมบัญชีกลาง เป็นต้น

อภิรัตน์กล่าวว่าในทางสภาอุตสาหกรรมได้เตรียมตัวเรื่องความยั่งยืนกันมาโดยตลอด เอสเอ็มอีต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานดังกล่าว เพื่อหาตลาดใหม่ในต่างประเทศได้ นอกจากนี้เรามองว่าแนวโน้มต่อไปจะเป็นช่วงของเศรษฐกิจถดถอย และเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้กดดันต้องเข้าสู่ เศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน นำของเหลือมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ และยังสามารถทำสินค้าใหม่ได้ เช่น เครื่องนุ่งห่มที่มาจากเศษอาหารเหลือทิ้ง หรือกากอาหารได้ ซึ่งถือว่าเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่สภาอุตสาหกรรมสนับสนุน โดยจะเริ่มโรงงาน โครงการจำลองจากกรุงเทพฯก่อน เช่นการทำโรงงานโปรตีนจากแมลง ซึ่งเป็นอีก 1 ช่องทางเพื่อหาโอกาสธุรกิจใหม่ได้.