ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ชวนทดสอบวัดระดับทักษะฝีมือแรงงาน หากผ่านเกณฑ์ รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือสูงสุด 900 บาทต่อวัน


กระทรวงแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ขับเคลื่อนนโยบายดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ณ สถาบันและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานในแต่ละจังหวัด เมื่อพัฒนาทักษะฝีมือของตนเองจนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 3 ระดับแล้วจะได้รับใบรับรองที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานออกให้ เพื่อใช้แนบยื่นเป็นหลักฐานในการขอรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือได้

ปัจจุบันมีผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติแล้วทั้งสิ้น 88,675 คน จากการเข้าทดสอบ 272 สาขา สำหรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงานที่มีผลบังคับใช้แล้วรวม 112 สาขาอาชีพ โดยในแต่ละสาขาที่ มีอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ต่ำสุดวันละ 350 บาท

กลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ พนักงานเตรียมวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง ระดับ 1 ส่วนอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือสูงสุดในสาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (โภชนบำบัด) และระดับ 2 อัตราค่างจ้างวันละไม่ต่ำกว่า 900 บาท

สาขาอาชีพที่ประชาชนคุ้นเคย เช่น ช่างไฟฟ้าภายในอาคาร ช่างแอร์ ผู้ที่ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ระดับ 1 จะได้รับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือไม่ต่ำกว่าวันละ 440 บาท ระดับ 2 อัตราวันละ 550 บาท และระดับ 3 อัตราวันละ 660 บาท

สาขาช่างสีรถยนต์ ระดับ 1 ถึงระดับ 3 จะได้รับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือไม่ต่ำกว่า 440 บาท 515 บาท และ 585 บาท ซึ่งทุกสาขาที่ประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ มีอัตราค่าจ้างที่สูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั้งสิ้น

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายยกระดับรายได้หรือค่าแรงขั้นต่ำให้สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน รวมถึงสนับสนุนการปรับเปลี่ยนทักษะและเปลี่ยนสายอาชีพให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานอุตสาหกรรมเป้าหมายและความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น

โครงการฝึกอบรมความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อพัฒนากำลังแรงงานหรือพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้และทักษะฝีมือสอดคล้องกับอุตสาหกรรม 6 กลุ่มเป้าหมาย (ดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ และหุ่นยนต์) สามารถใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการต่อยอดด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

โครงการยกระดับเพื่อเพิ่มศักยภาพฝีมือและสมรรถนะแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความก้าวหน้าทางเทโนโลยีและนวัตกรรม รองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรม/บริการ มีผู้ได้รับการฝึกอบรมรวมหลายหมื่นคน

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ/ผลิตภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบ SMEร กลุ่ม OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์ จำนวน 17,407 คน รวมถึงมีการสำรวจข้อมูลความต้องการแรงงานของสถานประกอบการที่มีแรงงานต่ำกว่า 50 คนลงมา และบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลอุปสงค์และอุปทานกำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 17,359 แห่ง

แรงงานงานจะได้รับอัตราค่าจ้างสูง เมื่อสามารถพัฒนาทักษะฝีมือของตนเองให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว นำใบรับรองที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานออกให้ไปแนบยื่นเป็นหลักฐานในการขอรับอัตราค่าจ้างได้ จึงขอเชิญชวนแรงงานฝีมือเข้าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานได้ที่สถาบันและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่ตั้งอยู่แต่ละจังหวัดได้ หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 4