ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

ชี้ช่องรวย แนะ อาชีพรวย เลี้ยง “ไส้เดือน” เลี้ยงง่าย ขายได้ราคาดี เริ่ม 300 – 6,000 บาท ต่อกิโลกรัม


ไส้เดือน ถือเป็นอีกหนึ่งสัตว์เศรษฐกิจที่มีราคาสูงปัจจุบันเริ่มมีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนขายเป็นจำนวนมาก โดยราคาขายต่อกิโลกรัมเริ่มต้นที่ 300 – 6,000 บาท ขึ้นอยู่กับสายพันธ์ุ ซึ่งถือเป็นราคาที่น่าสนใจจนทำให้มีคนหันมาเพาะเลี้ยงมากขึ้น

ประโยชน์ของ ไส้เดือน จัดอยู่ในกลุ่มผู้ย่อยสลายซากอินทรีย์ในระบบนิเวศ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ตามที่อยู่ อาศัยและนิสัยในการกินอาหารคือ ไส้เดือนดินที่อาศัยอยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์ และไส้เดือนดิน ที่อาศัยอยู่ ใต้ดินโดยการขุดรูอยู่ โดยไส้เดือนดินที่อยู่ตามผิวดินหรือใต้ซากอินทรีย์จะมีประสิทธิภาพในการย่อยสารอินทรีย์ใน ดินได้ดีกว่า และมีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วกว่าด้วย

เลือกสายพันธุ์ไส้เดือน

ในประเทศไทย ไส้เดือนที่แพร่หลายได้รับความนิยมในการเพาะเลี้ยงมากที่สุด คือ ไส้เดือน AF (แอฟกันไนท์คลอเรอร์) มีจำหน่ายทั่วไปราคาถูก หรือ หากใครต้องการเลี้ยงเพื่อผลิตปุ๋ย แนะนำให้เลี้ยง บลูเวิร์ม

ขั้นตอนการเลี้ยงไส้เดือน

1.เริ่มจากการเตรียมสถานที่และอุปกรณ์เลี้ยง

ในส่วนสถานที่เลี้ยงต้องเป็นที่ร่มไม่โดนแดดแรง อุปกรณ์เป็นวงบ่อที่มีรูระบายน้ำออก ขนาด 80-100 เซนติเมตร ถ้าเป็นกะละมัง ใช้ขนาด 50 เซนติเมตร เจาะรู ประมาณ 20-30 รู เพื่อระบายน้ำออก

2.การเตรียมเบดดิ้ง หรือเรียกว่าที่นอน

เพื่อไว้เลี้ยงไส้เดือน โดยการน าขี้วัวมาแช่น้ำ 1-2 คืน แล้วถ่ายน้ำทั้งหมด 3 ครั้ง รวมระยะเวลาเตรียมเบดดิ้งอยู่ที่ ประมาณ 7 วัน วัตถุประสงค์ของการแช่ขี้วัวเพื่อทำให้ ขี้วัวเย็นลงและเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของไส้เดือน หลังจากที่แช่ขี้วัวครบตามกำหนดแล้ว ก็ปล่อยน้ำออกให้ขี้วัว หมาดๆ จากนั้นตักใส่กะละมังโดยความสูงของขี้วัวอยู่ที่ 15-20 เซนติเมตร เพื่อเตรียมปล่อยตัวไส้เดือนลงไปเลี้ยง

3.ช่วงปล่อยตัวไส้เดือน

เมื่อได้ตัวพ่อแม่พันธุ์แล้ว ก็ปล่อยตัวไส้เดือนลงไปบนเบดดิ้งในภาชนะที่ เตรียมไว้ กรณี วงบ่อ 1 วง ปล่อยไส้เดือนอยู่ที่ 1.5 – 2 กิโลกรัม ส่วนในกะละมังปล่อยตัวไส้เดือนที่ 2.5 – 3 ขีด ต่อ กะละมัง หลังจากปล่อยเสร็จให้สังเกตดูว่า ตัวไส้เดือนมุดลงไปในเบดดิ้งที่เตรียมไว้หรือไม่ ถ้าไม่มุดลงไปนั้น แสดง ว่าเบดดิ้งที่เตรียมไว้มีปัญหา “ปัญหาที่ไส้เดือนไม่มุดเพราะขี้วัวแช่ไม่ดี อาจจะไม่ครบกำหนด หรือขี้วัวมีการล้างคอกด้วยโซดาไฟ กรณี ถ้าไม่ครบต้องให้ครบกำหนดจะเป็นการดี เพราะขี้วัวเย็นและเหมาะสมกับการปล่อยไส้เดือน ถ้าไม่ครบกำหนดหรือ ขี้วัวใหม่ๆ จะมีความร้อนและแก๊สมาก ทำให้ไส้เดือนอยู่ไม่ได้”

4.การควบคุมความชื้น

ให้สเปรย์น้ำให้ความชื้นเมื่อหน้าเบดดิ้งแห้ง ระยะเวลาที่ 1 – 2 วัน ต่อ ครั้ง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ และตามความเหมาะสม พยายามอย่าลดน้ำให้แฉะ เพราะจะทำให้ไส้เดือนหนีออกจาก ภาชนะที่เลี้ยง ควรระวังเรื่องศัตรู เช่น มด อึ่งอ่าง จิ้งจก จิ้งเหลน ที่จะมากิน เพราะไส้เดือนพวกนี้เป็นไส้เดือน ผิวดิน จะทำให้พวกสัตว์เหล่านั้นมารบกวนได้ง่าย

5.การให้อาหาร

ใช้เศษผักสีเขียว และวัชพืช โรยไปตามหน้าวัสดุรองพื้นในอัตรา 120 – 150 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน (12 – 15 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว) แต่ถ้าเป็นไส้เดือนดินสายพันธุ์ต่างประเทศจะต้องให้อาหารเป็น 2 เท่า ใช้เวลาประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ จะมีปริมาณไส้เดือนดินเพิ่มขึ้น ประมาณเท่าตัวของจ านวนที่ปล่อย

6.การแยกตัวไส้เดือนกับมูล

หลังจากเลี้ยงได้ประมาณ 45 วัน ใช้วิธีสังเกตดูเบดดิ้งในภาชนะ เปลี่ยนจากขี้วัวเป็นมูลไส้เดือนจนหมดแล้ว (มูลไส้เดือนมีลักษณะเป็นเม็ดรีๆ คล้ายลูกรักบี้) ก่อนจะแยกตัวให้งดน้ำ 7 วันเพื่อให้มูลไส้เดือนแห้งและง่ายต่อการคัดแยกตัว เมื่อมูลไส้เดือนพร้อมแยกตัวแล้วให้ตักใส่เครื่องร่อน ถ้า หากผู้เริ่มต้นเลี้ยงให้หาอุปกรณ์การแยก เช่น ตะกร้ารูเล็กที่มูลไส้เดือนรอดออกได้ แต่ตัวไส้เดือนยังติดอยู่ นำมาร่อนแยกได้เช่นกัน สำหรับการเลี้ยงไส้เดือนแบบใส่กะละมังกับวงบ่อ จะให้ผลผลิตที่เป็นมูลเหมือนกัน แต่จะต่างเรื่องการ จัดการ เพราะถ้าเลี้ยงวงบ่อ เมื่อได้มูลต้องก้มๆ เงยๆ ขนย้ายมาใส่เครื่องร่อน ลำบากใช้แรงงานมากขึ้น แต่ตัว ไส้เดือนจะอวบกว่า ส่วนการเลี้ยงกะละมังจะจัดการง่ายกว่า แต่ตัวไส้เดือนจะขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย

โดยสรุปแล้วการเลี้ยงไส้เดือนสามารถสร้างรายได้ 2 ทาง คือ การขายตัวไส้เดือน และมูลไส้เดือน ซึ่งช่องทางการจัดจำหน่ายนั้นสามารถประชาสัมพันธ์ขายผ่านทางออนไลน์ ถือเป็นช่อทางการทำการตลาดได้ง่ายที่สุด มีผู้คนเข้าถึงเป็นจำนวนมาก