โมเดลธุรกิจ “แฟรนไชส์” เป็นหนึ่งรูปแบบในการขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว แต่การจะนำพาธุรกิจไปสู่ระบบแฟรนไชส์นั้นเจ้าของธุรกิจเองต้องมีความเข้าใจอยู่พอสมควร เพราะในแต่ละประเภทธุรกิจมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป วันนี้ ชี้ช่องรวย จะมาบอกถึงการนำธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์นั้นต้องทำอย่างไรบ้าง
1.ประเมินความเป็นไปได้
ไม่ใช่ว่าธุรกิจทุกประเภทจะสามารถทำเป็นแฟรนไชส์ได้ เจ้าของกิจการต้องทำการสำรวจตลาดก่อนว่าธุรกิจหรือสินค้าของเรานั้นเป็นที่ต้องการของตลาดมากน้อยแค่ไหน มีอัตรการเติบโตมากน้อยเพียงใดสามารถแข่งขันกับธุรกิจประเภทเดียวกันได้หรือไม่ และสิ่งสำคัญประเมินธุรกิจของตนเองว่ามีความพร้อมที่จะขยายแฟรนไชส์มากน้อยแค่ไหน
2.สร้างต้นแบบธุรกิจให้ชัดเจน
เราต้องมีธุรกิจต้นแบบที่เกิดขึ้นให้ชัดเจนเสียก่อน การสร้างร้านต้นแบบที่ออกแบบนั้นจะเป็นสาธิตการทำงานของระบบให้เห็นภาพให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และยังเป็นการช่วยให้เกิดแนวทางการทำงานชัดเจนมากขึ้น เพราะเราได้เห็นสภาวะของธุรกิจไม่ว่าจะเป็นด้านรายได้ รายรับรายจ่ายมีแนวโน้นแบบไหน มากขึ้นหรือน้อยลง เรายังได้เห็นข้อดีข้อเสียของระบบงานที่คิดค้นขึ้นได้อย่างชัดเจน
รวมไปถึงเรายังปรับปรุงธุรกิจให้เป็นตามความต้องการจริงๆของลูกค้า ถ้ามีการสร้างหลายสาขานั้นยิ่งช่วยให้เราเห็นความแตกต่างจาก เงื่อนไขของทำเล สภาพลูกค้า สภาพของร้าน นั้นยิ่งทำให้เกิดความเข้าใจภาพรวมทั้งหมด ถือเป็นการช่วยให้เราได้เตรียมความพร้อมต่อการขยายตัวในรูปแบบอย่างดี และเราจะเห็นสาเหตุว่าทำไมสาขาในแต่ละที่ความแตกต่างกัน
3.พัฒนาและปรับปรุงจากสาขาต้นแบบ
กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน) วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสมระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์ เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด
4.จดทะเบียน ตราสินค้า และลิขสิทธิ์
สิ่งสำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ คือ เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการ เพราะถ้าเราเป็นเจ้าของธุรกิจได้ทำสัญญาแฟรนไชส์กับแฟรนไชส์ซี ทำให้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของเราได้ถูกซื้อไปโดยแฟรนไชส์ซี โดยอยู่ภายใต้การบริหารระบบแฟรนไชส์ของเรา แต่ถ้าเราผู้เป็นเจ้าของแฟรนไชส์ไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการเอาไว้ก่อนล่วงหน้า
เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการเรามีโอกาสที่จะถูกลอกเลียนแบบได้ หรือถูกชิงตัดหน้าไปจดทะเบียนก่อนเราก็เป็นได้ ดังนั้นการที่นำธุรกิจเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ อย่างแรกที่เราจะต้องทำคือต้องไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการไว้ก่อน กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการนั้นไม่เหมือนกัน
5.การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์ (operation manual)
กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน (operation manual)
รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์ สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์) มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้ พร้อมเงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
รู้ไหม ทำไม! “แฟรนไชส์มือใหม่” ต้องทำ “Operation Manual” เพื่อให้กิจการไปต่อได้ไม่สะดุด
6.สร้างเอกสารสัญญาแฟรนไชส์
ความผูกพันระหว่าง แฟรนไชส์ซอร์ และ แฟรนไชส์ซี ที่จะมีต่อกันคือสัญญาที่ทำร่วมกัน ผู้สร้างแฟรนไชส์ควรมีการออกแบบสัญญาและสัญญาที่ดีควรยุติธรรมและก่อประโยชน์ในการสร้างอนาคตทางธุรกิจร่วมกันของทั้งสองฝั่ง ซึ่งผู้ที่ไม่มีประสบการณ์สามารถหาบริษัทที่ปรึกษามาให้คำแนะนำในส่วนนี้ได้
7.สร้างกระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี
ธุรกิจที่ขยายด้วยระบบแฟรนไชส์ได้ประสบความสำเร็จนั้น เราจำเป็นต้องมีระบบการคัดเลือกแฟรนไชส์ที่เข้มแข็งด้วย ยิ่งถ้าหากแบรนด์เรามีความเข็มแข็งมากเทาไหร่ ก็ยิ่งมีคนอยากเข้าซื้อแฟรนไชส์เรามากขึ้นเท่านั้น อย่าลืมว่าหากเราเลือกไม่ดี เขาจะนำแบรนด์ของเราไปทำลายให้เสียหายหรือลดความน่าเชื่อถือได้ นอกจากนี้การเป็นคู่ค้ากันระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีที่ไม่ประสบความสำเร็จมาก ๆ ย่อมนำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ไม่น่าเชื่อถือต่อไป
8.การจัดหาวัตถุดิบ และการควบคุมคุณภาพ
สินค้าจะมีคุณภาพหรือไม่ วัตถุดิบก็มีส่วนสำคัญ คุณภาพของวัตถุดิบที่เราจะนำมาทำนั้น เป็นคุณภาพแบบไหน ความชื้นเท่าได ต้องรักษาและดูแลอย่างไรถึงจะรักษาคุณภาพของวัตถุดิบ ให้เป็นไปตามกำหนดได้ การจัดซื้อจากแหล่งใดก็ต้องหา Supplier ที่สามารถควบคุมคุณภาพให้เราได้เช่นกัน นอกจากนี้ แฟรนไชส์ซอร์ จำเป็นต้องควบคุมคุณภาพของ แฟรนไชส์ซี ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด โดยอาจใช้วิธีการสุ่มตรวจคุณภาพของแต่ละสาขาอย่างสม่ำเสมอ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์
9.การวางแผนการตลาด
การตลาดที่ดีเป็นการสนับสนุนให้ลูกค้ายอมรับตราสินค้าได้อย่างดี เช่น สร้างเอกลักษณะทางธุรกิจ การสร้างกลุ่มผู้บริโภค มีการรองรับการขยายของธุรกิจเมื่อมีสาขามากขึ้น เป็นต้น การวางแผนการตลาดจะต้องรวมถึงการนำเสนอธุรกิจให้กับนักลงทุนได้เป็นอย่างดี น่าสนใจ ผู้ที่เป็นลูกค้าประจำของเราก็อาจจะ มีโอกาสที่จะกลายมาเป็นแฟรนไชส์ซีของเราต่อไปก็ได้ในอนาคต
สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจอยากจะเรียนหลักสูตร “Chain Store Management & Franchise System” เพื่อธุรกิจที่มีระบบ มี Operation Manual ไว้ขยายธุรกิจ เริ่มเปิดเรียนรุ่น 3 เปิดประสบการณ์พบความแตกต่างจากเจ้าของแฟรนไชส์ด้วยกัน ต่อยอดธุรกิจไปด้วยกัน
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จำกัดผู้เรียนเพียง 20 ธุรกิจ เท่านั้น ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 9 พ.ย. 63 สนใจติดต่อสอบถามโทร. 094-915-4624