ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

เป็นหนี้ไมต้องกลัว! รวม 5 เทคนิคบริหารหนี้ เห็นผลทันทีที่เริ่มทำ

หลายคนมากที่ตอนนี้เป็นหนี้ หนี้สินรายล้อมรอบตัวเต็มไปหมด ชี้ช่องรวย จึงขอแนะนำเทนนิคดี ๆ มาฝาก ช่วยให้คุณบริหารหนี้ได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งทำไว ยิ่งปลดหนี้ไว

 

1.แบ่งแยกประเภทหนี้

หนี้ไม่ด้มีแค่หนี้เสียอย่างเดียวแต่ยังมีหนี้ดีด้วย ดังนั้นต้องแบ่งให้ชัดเจนก่อนว่าหนี้ไหนเป็นประเภทใด

หนี้ดี คือ หนี้ที่เกิดจากการนำไปซื้อทรัพย์สินที่ก่อให้เกิดกระแสเงินสดเข้ามามากกว่าค่าใช้จ่ายที่ต้องผ่อนชำระ เช่น กู้ซื้อบ้าน – คอนโดแล้วนำมาปล่อยเช่า โดยรายได้ที่ได้จากผู้เช่าต้องมากกว่าค่าผ่อนในแต่ละเดือน

หนี้เสีย คือ หนี้ที่เกิดรายจ่ายเพียงอย่างเดียว ไม่มีเงินกลับเข้ามา

การแยกประเภทจะทำให้รู้ว่าตัวเองมีหนี้ดีเท่าไร หนี้เสียที่ควรจัดการมีเท่าไรบ้าง

2.ทำงบการเงินส่วนตัวและกรแสเงินสด

อย่างแรกต้องรู้ว่าฐานะการเงินส่วนบุคคลมีเท่าไร โดยการรวบรวมรายการสินทรัพย์ทั้งหมด (สินทรัพย์สภาพคล่อง สินทรัพย์เพื่อการลงทุน สินทรัพย์ส่วนตัว) มาหักลบด้วยหนี้สินทั้งหมด ก็จะได้ฐานะทางการเงินที่แท้จริงของแต่ละบุคคล

ต่อไปคือหากระแสเงินสด เป็นการเปรียบเทียบรายรับและรายจ่าย หรือเรียกว่าประเมินสภาพคล่อง จะได้รู้ว่าหลังหักรายจ่ายแล้วจะเหลือเงินเท่าไร

3.จัดลำดับความสำคัญของหนี้

จะทำเป็ยตาราง Exel หรือจดบันทึกในสมุดก็ได้ ต้องรู้ก่อนว่ามีหนี้กี่ตัว เจ้านี้กี่ราย ยอดหนี้สะสม อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ที่สำคัญต้องรู้ว่ากำหนดชำระหนี้คือวันที่เท่าไร เหลืออีกกี่วัน จะได้รู้ว่าหนี้ตัวนั้นต้องเคลียร์ก่อน หนี้ตัวไหนต่อรองขอเลื่อนออกไปได้ คุณตะเห็นทางออกการจัดการหนี้มากขึ้น

4.มีตัวช่วยต้องใช้

เริมที่การรีไฟแนนซ์ เป็นการวมหนี้ทั้งหมดไว้เป็นก้อนเดียว ทำให้อัตราดอกเบี้ยลดลง ง่ายต่อการโฟกัสการชำระหนี้มากขึ้น แต่ก็ควรหาข้อมูลการรีไฟแนนซ์และเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงิน

ต่อไปคือการเจรจากับเจ้าหนี้ บอกเจ้าหนี้ไปตรง ๆ เพื่อหาทางออกร่วมกัน เช่น ยืดเวลาชำระหนี้ พักชำระเงินต้น ลดดอกเบี้ย จะช่วยให้หายใจหายคอคล่องขึ้น มีกำลังใจการชำระหนี้มากขึ้น หาโครงการช่วยเหลือทั้งภาครัฐและเอกชน จะมีการช่วยวางแผนชำระหนี้ หาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เจรจากับเจ้าหนี้ก็ได้

5.พฤติกรรมที่เสี่ยงก่อหนี้

การปรับที่ดีที่สุดคือเริ่มที่ตัวเอง หนี้ทุกก้อนสะท้อนพฤติกรรมของตัวเอง ถ้าเป็นหนี้ดีที่คำนึงถึงอนาคตก็ดีไป แต่ถ้าเป็นหนี้เสียก็ควรปรับปรุง มีหนี้เสียได้แต่ต้องมีให้น้อยที่สุด สร้างวินัยให้ตัวเอง เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เก็บความลำบากเป็นบทเรียนสอนตัวเองต่อไป

.
ที่มา : Setinvestnow