ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน

เตรียมรับแรงกระแทก! 7 ปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการหน้าเก่าและใหม่ต้องเจอ

1.ปัจจัยเสี่ยงด้านการผลิต

ในกระบวนการผลิตมีโอกาสเกิดการบกพร่องได้ไม่น้อยแม้จะตรวจสอบแล้วก็ตาม เมื่อเกิดความผิดพลาดแล้วทางบริษัทก็ต้องออกมารับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะมาจากคนหรือเครื่องจักรก็ตาม ดังนั้นควรกำหนดและบริหารความเสี่ยงในการผลิตตั้งแต่ต้นให้ดี

2.ความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต เช่น เครื่องสำอาง อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ อาจเกิดเหตุไม่คาดฝันอย่างการชำรุด ลูกค้าได้รับผลกระทบทั้งอาการแพ้ อาการบาดเจ็บ ส่งผลเสียต่อทรัพย์สินและร่างกาย ความเสี่ยงตรงนี้ร้ายแรงและไม่ควรให้เกิดขึ้น ดังนั้นต้องเพิ่มควมาละเอียดและมาตรฐานให้ดียิ่งขึ้น

3.สินค้าคงคลัง

สินค้าที่เก็บไว้ในคลังสามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงได้นั่นก็คือ “ความเสื่อมสภาพ” ไม่ว่าจะเก็บรักษามาดีแต่ก็มีโอกาสเสื่อมพังได้อยู่ดี เมื่อนำมาผลิตหรือนำออกไปจำหน่ายก็เสี่ยงเกิดความผิดพลาดได้ไม่น้อยทีเดียว ต้องหมั่นเช็กสภาพสินค้าที่เก็บในคลังเป็นระยะ

4.ความเสี่ยงจากสภาวะตลาด

สภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา สินค้าหรือวัตถุดิบที่มีอยู่อาจไม่สามารถนำออกมาผลิตและขายออกไปได้เพราะตลาดและลูกค้าได้เปลี่ยนไปแล้ว ต้องหาทางแก้ หาแผนสำรองเพื่อผ่านวิกฤตินี้ไปให้ได้

5.การแข่งขัน

บริษัทที่เพิ่งเปิดใหม่หรือเปิดมาได้ไม่นานค่อนข้างมีความเสีย่งเรื่องการแข่งขันทางธุรกิจ เพราะทรัพยากรยังไม่ได้พร้อมมาก ยังไม่ติดตลาดหรือนิยมมากพอ ทำให้รายได้อาจยังไม่ดีเท่าที่หวังไว้ ต้องหาทางประคองให้คงเส้นคงวา หาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้และพัฒนาให้ต่อเนื่องเพื่อก้าวไปจุดที่สูงขึ้น

6.ภาวะเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจถือเป็นอุปสรรคและความเสี่ยงของทุกธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะนอกจากปัจัยภายในประเทศแล้ว ยังมีปัจจัยภายนอกอย่างความขัดแย้งและสงครามต่าง ๆ ด้วย ดังนั้นต้องบริหารงานให้รัดกุม เหมาะสม รักษาเสถียรภาพให้ได้

7.การทุจริต

ความเสี่ยงที่ทุกบริษัทไม่อยากให้เกิดขึ้นมากที่สุด ส่งผลเสียทุกภาคส่วน หมดความไว้เนื้อเชื่อใจ หมดความน่าเชื่อถือ รายได้ กำไร ชื่อเสียงเป็นไปในทางลบเสียหมด ไม่ว่าจะพนักงานก็ดี หรือผู้ร่วมลงทุนก็ดี คุยกันให้ดี ตกลงกันให้ชัดและต้องป้องกันเหตุนี้ไว้เสมอ