ศูนย์รวมแฟรนไชส์น่าลงทุน
ทักษะการสื่อสาร

5 เทคนิคฝึกทักษะการสื่อสาร ความชำนาญที่ขาดไม่ได้ของวัยทำงาน

ทักษะการสื่อสาร ถือเป็นทักษะสำคัญที่ทุกอาชีพควรจะมีติดตัว ยิ่งคนวัยทำงานทุกสาขาควรจะสื่อสารได้อย่างดี ชัดเจน ครบถ้วน เพราะการสื่อสารที่ผิดพลาดจะนำมาสู่ผลลัพธ์ที่ไม่มีใครต้องการ เกิดการเข้าใจผิด ส่งผลต่อการทำงานเป็นอย่างมาก วันนี้เราจะพามาดูกันว่าทำอย่างไรได้บ้างที่จะฝึกฝนทักษะสื่อสารที่จะทำให้คุณทำงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

1.จำไม่หมดจดดีกว่า

ทักษะการสื่อสาร

เมื่อยู่ที่ประชุมหรือรับข้อมูลปากเปล่าจากทั้งหัวหนางานก็ดี หรือลูกค้าก็ดี การจำเนื้อหาทั้งหมดโดยละเอียดนั้นเป็นเรื่องยาก คุณอาจเข้าใจคร่าว ๆ ด้วยตัวคุณเองได้ แต่การจะสื่อสารต่อไปถึงคนอื่นนั้นอาจมีความคลาดเคลื่อน ถถ้าเข้าใจในทางเดียวกันยังไม่เป็นอะไร แต่ถ้างานมันสำคัญและเกิดความผิดพลาด ผลเสียจะมาตกที่เราได้ ดังนั้นเมื่อรับข้อมูลใด ๆ ก็ตามควรจดไว้ พกสมุดให้พร้อมหรือพิมพ์ใส่โทรศัพท์ไว้ก็ได้ จะได้ไม่พลาดเนื้อหาสำคัญ

2.จับประเด็นให้ถูก

ทักษะการสื่อสาร

หลายคนก็คงเป็นที่ว่าเวลารับข้อมุลมาทำไมมันมีแต่น้ำ พูดไปเรื่อย พูดยาวหาสาระยังไม่ได้ แต่เมื่อเราเป็นคนรับสาส์นนั้นมาก็ต้องส่งต่อให้ถูกให้ได้ ก่อนจะไปบอกไปสั่งงานใคร กรุณาเรียบเรียงใจความสำคัญในสมองตัวเองสักนิด ว่าเราจะไปเล่าต่ออย่างไรดี ให้กระชับ และเหมาะสมกับบริบทของเนื้องานมากที่สุด การสื่อสารที่ดีไม่ใช่ว่าต้องไปพูดในทุกสิ่งที่คุณได้ยินมา ให้ผู้ฟังรับทราบ ถ้ามันไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับเนื้องาน ก็ไม่จำเป็นต้องพูด

3.สื่อสารอย่างตรงจุด อย่าเวิ่นเว้อ

ทักษะการสื่อสาร

เมื่อเรียบเรียงเนื้อหาได้อย่างดีแล้ส ต่อไปคือการส่งต่อให้ผู้อื่นได้รับทราบ เวลาถ่ายทอดต่อต้องอย่าอ้อมค้อม พูดวนให้เกิดความสับสนไปอีก สาร เมื่อได้รับการสื่อต่อหลายๆทอด ก็ย่อมเกิดความบิดเบือนได้มากอยู่แล้ว อย่าไปพยายามจัดสรร ปั้นคำพูดให้ดูสวยงาม พูดให้ตรงประเด็น จะย่นระเวลาได้อีกเยอะ

4.สื่อสารให้ถูกคน

ทักษะการสื่อสาร

เมื่อรับสารมาแล้วจะมาบอกต่อก็ต้องรู้ก่อนว่าใครควรรับสารแบบไหน ไม่ควรรู้เรื่องไหนบ้าง ต้องพูดอย่างไรเพื่อประสานประโยชน์ของหลาย ๆ ฝ่ายให้ลงตัวในเรื่องเดียวกัน ถ้าให้หัวหน้าฟัง ก็ควรหยิบเอาประเด็นที่หัวหน้าสนใจมาเล่าให้ฟัง เพราะอาจมีผลต่อนโยบายบริหาร แต่ถ้าเราให้พนักงานด้วยกันฟัง อาจจะต้องเล่าอีกมุมหนึ่ง

5.อย่าใช้อารมณ์ส่วนตัว

เมื่อเราเป็นคนตรงกลาง จะพูดจะคุยอะไรต้องระมัดระวัง อย่าใส่อารมณ์ เหตุผล และทัศนคติตนเองลงไปปรุงแต่งในสาร เพราะอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงยิ่งกว่าเดิมได้ อย่าได้ออกความเห็นจนกว่าจะโดนขอร้องให้แสดงความคิดเห็น

 

ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่ : คลิก

ติดตามบทความ How to ที่น่าสนใจได้ที่ : คลิก