โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

รวมงาน 7 ประเภท ที่ “บัณฑิตจบใหม่” ยังไม่มีประสบการณ์สามารถทำได้ และทำได้ดีด้วย

เป็นที่ทราบกันดีว่า ในแต่ละปีจะมีบัณฑิตจบใหม่ทั่วประเทศจำนวนหลายแสนราย ซึ่งก็จะมีบัณฑิตจำนวนหนึ่งที่สามารถหางานทำได้ และมีอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังคงว่างงาน ยิ่งเจอวิกฤตโควิด-19 ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้จำนวนบัณฑิตว่างงานยิ่งเพิ่มสูงขึ้น

ดังคำกล่าวที่ว่า "ไม่เลือกงาน ไม่ยากจน" ยังใช้ได้ดีในภาวะเช่นนี้ ซึ่งเมื่อพูดถึงสายงานที่บัณฑิตจบใหม่สามารถทำได้แม้จะยังไม่มีประสบการณ์ โดย ชี้ช่องรวย ได้รวบรวมงาน 7 ประเภท ที่ตลาดยังคงต้องการ  ดังนี้

1.นักการตลาด

เป็นกุญแจของความสำเร็จในการทำธุรกิจ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดจึงเป็นบุคคลสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ สำหรับเด็กจบใหม่สายการตลาดที่เพิ่งเรียนจบจึงไม่ต้องกังวลเลยว่าจะไม่มีงานทำ เพราะงานด้านการตลาดมีการแตกแขนงออกมาอย่างหลากหลาย แล้วเด็กการตลาดจบใหม่จะสามารถทำงานตำแหน่งอะไรได้

2.นักการตลาดทั่วไป (Marketing Officer)

ทำหน้าที่ในสร้างกระบวนการสื่อสารให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าทำไมถึงต้องซื้อสินค้า และบริการที่เรานำเสนอ เริ่มต้นตั้งแต่ การวางกลยุทธ์ การคิดแบรนด์ การสื่อสาร ที่จะโน้มน้าวผู้บริโภคให้สนใจ และซื้อสินค้า และบริการของเรา

3.นักสื่อสารเนื้อหาทางการตลาด (Content Marketer)

อีกหนึ่งรูปแบบของการทำการตลาด คือ เน้นการดูแลเรื่องเนื้อหา รูปภาพ อินโฟกราฟิก เว็บไซต์ คลิปวิดีโอ และ Podcasts ถือเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของงานด้านการตลาด ที่เติบโตเป็นอย่างมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของแพลตฟอร์มที่ใช้ในการทำการตลาดอย่าง Facebook Page

4.นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketer)

เป็นการทำการตลาดผ่านช่องทาง Digital marketing channel อย่าง Facebook Youtube Instagram และ E-mail แม้จะดูใกล้เคียงกับ Content Marketing แต่ Digital Marketing ต้องมีการดูแลเรื่องของภาพลักษณ์แบรนด์บนโซเชียลมีเดียต่างๆ ด้วย และต้องสร้างการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า พร้อมทั้งรับมือกับปัญหาที่ลูกค้ารายงานได้อย่างทันท่วงที

5.นักจัดกิจกรรมทางการตลาด (Event Marketer)

ในการทำการตลาดไม่ได้มีแค่การตลาดออนไลน์ รูปแบบเดียว แต่จะต้องมีการทำการตลาดแบบออฟไลน์ควบคู่กันไปด้วย โดยหนึ่งในการตลาดออฟไลน์ที่มีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ชัดเจนที่สุดก็คือ การทำ Event Marketing เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายด้วยการรับรู้ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส เป็นการสร้างความประทับใจให้กับกลุ่มเป้าหมายเก่า และใหม่ได้เป็นอย่างดี

6.นักประชาสัมพันธ์ (Public Relations)

ถือเป็นบุคคลที่สร้างภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ได้อย่างชัดเจน เพราะนักประชาสัมพันธ์ไม่ได้ติดต่อแค่กับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังต้องติดต่อประสานงานกับสื่ออื่นอีกด้วย นักประชาสัมพันธ์จึงต้องมีทักษะด้านการสื่อสาร และการเข้าสังคมที่ดีมาก

7.นักโฆษณา (Advertisers)

เป็นผู้ออกแบบสื่อโฆษณา และดีไซน์แคมเปญต่างๆ เพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภคให้รู้จัก และเลือกซื้อสินค้า และบริการ หรือจะเป็นการคิดแคมเปญโฆษณาเพื่อสื่อสาร ยืนยันภาพลักษณ์ รวมถึงเจตนารมณ์ของแบรนด์ให้กับคนทั่วไปได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังมี บัณฑิตจบใหม่ ที่มีทุนรอนและอยากจะเริ่มต้นสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจ ด้วยการลงทุนทำธุรกิจขนาดเล็ก บางคนอาจตัดสินใจซื้อ "แฟรนไชส์" มาเริ่มต้นทำธุรกิจ ซึ่งก็มีความน่าสนใจไม่น้อย ชี้ช่องรวย ก็ขอเป็นกำลังใจและใช้โอกาสการตัดสินใจนี้มุ่งมั่นอย่างจริงจัง จนพบกับความสำเร็จนะคะ 

บทความที่เกี่ยวข้อง 

เริ่มต้นธุรกิจในฐานะ “แฟรนไชส์ซี” แต้มต่อสำหรับการเริ่มต้น เพื่อเติบโตในอนาคต

รู้หรือไม่ จะลงทุน “แฟรนไชส์” ต้องจ่ายค่าอะไรบ้าง ?

“แฟรนไชส์มือใหม่” รู้ไว้ ตั้งชื่อ “แบรนด์” อย่างไรให้สะดุดใจผู้ลงทุน