โอกาสของคนตัวเล็ก

  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อโฆษณา
Responsive image

พระราชดำริแก้ปัญหาจาก ต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำ

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถจำแนก ออกเป็น 6 ประเภทสำคัญๆ คือ 1. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และอุปโภคบริโภค 2. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ 3.โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร 4. โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม 5. โครงการป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม และ 6. โครงการแก้ไข ปัญหาคุณภาพน้ำ กรมชลประทาน เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทสำคัญในการศึกษา วางแผน และก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำริ ตั้งแต่พื้นที่ ต้นน้ำกลางน้ำจนถึงปลายน้ำ ในพื้นที่ต้นน้ำ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริในการอนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธารและพื้นที่ป่า ด้วยการสร้างฝายชะลอความชุ่มชื่น หรือฝายต้นน้ำ (Check Dam) โดยได้ พระราชทานพระราชดำริความตอนหนึ่งว่า “...ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายราคาประหยัด โดยใช้วัสดุ ราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่าย ปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะๆ เพื่อใช้เก็บกักน้ำและตะกอนดินไว้บางส่วน โดยน้ำที่ กักเก็บไว้ จะซึมเข้าไปในดิน ทำให้ ความชุ่มชื้นแผ่ ขยายออกไปทั้งสองข้าง ต่อไปจะสามารถปลูกพันธุ์ไม้ป้องกันไฟ พันธุ์ไม้โตเร็ว และพันธุ์ไม้ไม่ทิ้งใบ เพื่อฟื้นฟูที่ต้นน้ำลำธารให้มีสภาพเขียวชอุ่มขึ้นเป็นลำดับ... ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีรักษาราชการแทนอธิบดี กรมชลประทาน กล่าวว่า ในทุกๆ พื้นที่ที่กรมชลประทานเข้าไปพัฒนาแหล่งน้ำจะต้องมีการปลูกป่าทดแทนในบริเวณป่าเสื่อมโทรมไม่น้อยกว่า 2 เท่าของ พื้นป่าเดิม รวมทั้งยังได้น้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” ในเรื่องฝายชะลอความชุ่มชื้น ซึ่งกรมชลประทานได้ทำการศึกษาและพัฒนาตามแนวพระราชดำริที่ศูนย์ศึกษา การพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ มาต่อยอดขยายผลดำเนินการในพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ในพื้นที่ต้นน้ำบริเวณชายขอบป่า พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริให้ กรมชลประทานพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เพื่อให้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการน้ำในการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอุทกภัย คุณภาพน้ำและรักษาระบบนิเวศของลำน้ำตลอดจนสร้างอาชีพเสริมให้กับ ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นหุบเขา ที่มีความเหมาะสมที่ จะสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นั้น พระองค์ทรงพระราชทานพระราชดำริ ให้กรมชลประทานควรรีบดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแห่งนั้นโดยเร็ว เพราะ ถ้าหากปล่อยให้ล่าช้าต่อไปจนราษฎรบุกรุกเข้าไปทำกินในพื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำดังกล่าวมากแล้วจะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำนั้นๆ ได้ยาก เนื่องจากจะไปทำความ เดือดร้อนให้กับราษฎร เมื่อมีอ่างเก็บน้ำแล้วถึงแม้ว่ายังไม่มีระบบส่งน้ำก็สามารถระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำลงสู่ลำน้ำเดิมให้กับฝายต่างๆ ทางตอนล่าง จนมีน้ำใช้ทำการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี ในระยะต่อไป เมื่อมีงบประมาณพอ จึงสร้างระบบส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำกระจายไปยังพื้นที่เพาะปลูกของราษฎร ให้เต็มพื้นที่โครงการตามความเหมาะสมได้ รักษาการอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทานได้ดำเนินการ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจาก พระราชดำริในพื้นที่ชายขอบป่าหลาย โครงการ อาทิ เขื่อนขุนด่านปราการชล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการ พัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ที่ทรงมีพระราชดำริ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2536 ให้กรมชลประทาน พิจารณาวางโครงการ และก่อสร้างเขื่อน คลองท่าด่าน (ต่อมาได้พระราชทานชื่อว่า เขื่อนขุนด่านปราการชล) ที่ .หินตั้ ง อ.เมือง .นครนายก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ พัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบน เพื่อช่วยให้ ราษฎรทางตอนล่างมีน้ำใช้ทำการเกษตร การอุปโภคบริโภค รวมทั้งช่วยบรรเทา อุทกภัยที่มักจะเกิดขึ้นในเขต .นครนายก เป็นประจำทุกปี ตลอดจนส่งน้ำช่วยเหลือ ภาคอุตสาหกรรมและแก้ไขพื้นที่ดินเปรี้ยว อีกด้วย โดยได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ สมบูรณ์ ในปี 2547 อ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทรอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ .เกาะจันทร์ .เกาะจันทร์ .ชลบุรี เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางที่ก่อสร้างในพื้นที่ ต้นน้ำบริเวณชายขอบป่าเช่นกัน โดยก่อสร้างแล้วเสร็จ เปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ช่วยให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำมีแหล่งน้ำสำหรับ การเพาะปลูกและอุปโภค-บริโภคอย่างพอเพียง โดยมีพื้นที่ ได้รับประโยชน์มากกว่า 44,000 ไร่ ช่วยป้องกันและบรรเทา อุทกภัยในพื้นที่บริเวณลุ่มน้ำรวมทั้งยังเอื้อประโยชน์ต่อ ภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง ทะเลตะวันออกอีกด้วย อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา หรือโครงการห้วยโสมง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.แก่งดินสอ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่อีกโครงการที่ก่อสร้าง บริเวณพื้นที่ต้นน้ำบริเวณชายขอบป่า ซึ่งการก่อสร้างตัวอ่าง ขณะนี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว สามารถเก็บกักน้ำและช่วยแก้ปัญหา น้ำท่วม ให้กับพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการมากกว่า 111,300 ไร่ ส่วนพื้นที่กลางน้ำ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนิน โครงการพัฒนาแหล่งน้ำหลากหลายรูปแบบตามความเหมาะสม และปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำฝาย แก้มลิง สระเก็บน้ำเป็นต้น อาทิ โครงการเขื่อน ป่าสักชลสิทธิ์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ .หนองบัว .พัฒนานิคม .ลพบุรี เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ในพื้นที่กลางน้ำของลุ่มน้ำป่าสัก ที่มีประโยชน์ ต่อประเทศชาติมากมาย เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตรสำหรับพื้นที่ชลประทานที่จะเกิดใหม่กว่า 174,500 ไร่ และเสริมความมั่นคงในเรื่องน้ำให้กับพื้นที่ โครงการชลประทานเดิมในทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก ตอนล่างอีกประมาณ 2.2 ล้านไร่ ทั้งยังช่วยบรรเทาอุทกภัย ทั้งในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดเขื่อนป่าสัก ชลสิทธิ์ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 นอกจากนี้ในพื้นที่ กลางน้ำทรงมีพระราชดำริให้สร้างฝายขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ ในลำน้ำและทดน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตรแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำหลายแห่ง เช่น โครงการฝายแม่งาว พร้อมระบบส่งน้ำบ้านประชาภักดีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.ตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย เป็นต้น ส่วนพื้นที่กลางน้ำที่ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำได้พระราชทานพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาด้วยการใช้ แก้มลิง ดั่งพระราชดำรัส ความตอนหนึ่งว่าลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนลิงจะทำอย่างนี้ จนกล้วยหมดหวี หรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและ กลืนกินภายหลังซึ่งเปรียบเทียบได้กับเมื่อเกิดน้ำท่วม ก็ขุดคลองต่างๆ เพื่อชักน้ำให้รวมกันแล้วนำมาเก็บไว้เป็น บ่อพักน้ำอันเปรียบได้กับแก้มลิง แล้วจึงระบายน้ำออกภายหลัง กรมชลประทานได้นำพระราชดำริดังกล่าวมาดำเนิน โครงการแก้มลิงหลายโครงการที่อยู่ในพื้นที่กลางน้ำเช่น โครงการแก้มลิงทะเลสาบบ้านหมอ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี โครงการแก้มลิงหนองเจ็ดเส้น อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เป็นต้น สำหรับพื้นที่ปลายน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจาก พื้นที่กลางน้ำมักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเช่นกัน โดยเฉพาะ ในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ และเป็น อู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ กรมชลประทานได้ นำแนวพระราชดำริ แก้มลิงมาใช้แก้ปัญหา โดยได้ดำเนินโครงการแก้มลิงในพื้นที่ ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยฝั่งตะวันออกได้ขุดลอกคลองต่างๆ ตั้งแต่ .สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร จนถึง สมุทรปราการ เพื่อใช้เป็นแก้มลิง ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตก ประกอบด้วยโครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง โครงการ แก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย และโครงการแก้มลิง คลองสุนัขหอน ควบคู่กันไปด้วยเพื่อทำให้การแก้ไขปัญหา น้ำท่วมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังมีโครงการแก้มลิงอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ ในพื้นที่ปลายน้ำอีกโครงการหนึ่งที่ก่อให้เกิดผล เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนคือ โครงการแก้มลิงพื้นที่หนองใหญ่ ตามพระราชดำริ .ชุมพร ซึ่งทำให้ชาวชุมพรรอดพ้นจาก อุทกภัยน้ำท่วมเมืองหลายต่อหลายครั้ง ปัญหาน้ำท่วมของพื้นที่ที่อยู่ปลายน้ำเป็นปัญหา สำคัญ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการระบายน้ำไม่ทัน เนื่องจากมีสิ่งขัดขวางทางน้ำเกิดขึ้นอีกมากมาย ประกอบกับ เป็นที่ลุ่มความลาดชันต่ำเมื่อฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง หรือมีน้ำป่าไหลหลาก ก็จะเกิดภาวะน้ำท่วมทันที พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานแนวพระราชดำริ ในการดำเนินโครงการ บรรเทาอุทกภัยในพื้นที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม สร้าง ความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน อาทิ โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่อันเนื่อง มาจากพระราชดำริ กรมชลประทานได้ดำเนินขุดลอกคลอง ธรรมชาติที่มีอยู่เดิมทั้งหมด พร้อมขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ คือ “คลองภูมินาถดำริ” ทำให้ในปัจจุบัน ปัญหาอุทกภัยของ อ.หาดใหญ่ ได้บรรเทาเบาบางลงไปเป็นอย่างมาก แม้แต่ในปี ที่มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง แต่ชาว อ.หาดใหญ่ ก็รอดพ้น จากภัยน้ำท่วมมาได้ทุกครั้ง อาจมีบ้างที่น้ำเพิ่มระดับสูงขึ้น ในตัวเมือง แต่น้ำก็จะไหลลงสู่คลองระบายน้ำและไหลออก สู่ทะเลสาบสงขลาภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง จึงนับเป็น พระมหากรุณาธิคุณต่อชาว อ.หาดใหญ่ โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรีอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ จ.จันทบุรี เป็นอีกโครงการที่ กรมชลประทานได้น้อมนำแนวทางการแก้ปัญหาตาม พระราชดำรัส โดยการขุด “คลองภักดีรำไพ” แยกออกจาก แม่น้ำจันทบุรีก่อนเข้าถึงตัวเมือง เพื่อผันน้ำส่วนเกินศักยภาพ ของแม่น้ำจันทบุรีที่จะรองรับปริมาณน้ำได้ ไม่ให้ไหลเข้าสู่ตัวเมืองจันทบุรี ซึ่งนอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมแล้ว ยังสามารถใช้กักเก็บน้ำจืดได้อีกประมาณ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร เกษตรกรที่อยู่ใกล้กับแนวคลองสามารถสูบน้ำไปใช้ได้ เพิ่มพื้นที่ รับประโยชน์อีกจำนวน 5,000 ไร่ รวมทั้งทัศนียภาพของ ถนนทั้ง 2 ฟากฝั่งยังสวยงาม เหมาะสำหรับให้ประชาชน สามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และออกกำลังกาย โดยเฉพาะการปั่นจักรยานได้อีกด้วย นอกจากนี้ กรมชลประทานยังเตรียมขออนุมัติ จากคณะรัฐมนตรี เพื่อเปิดโครงการบรรเทาอุทกภัยเมือง นครศรีธรรมราชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อบรรเทา และแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ อ.พระพรหม อ.เมือง และพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก ของจังหวัด โดยเฉพาะในเขตชุมชนและเขตเศรษฐกิจ ของเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรกรรม การอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้ง ได้อีกประมาณ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 17,400 ไร่ อีกด้วย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่ได้ของ ในหลวงรัชการที่ 9 ทุกวันนี้โครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริที่เกี่ยวกับน้ำมากกว่า 2,700 โครงการ ยังคง ก่อเกิดประโยชน์ให้กับประเทศชาติและราษฎรไม่มีที่สิ้นสุด

กรมชลประทานจะนำพระราชดำริที่เกี่ยวกับ การพัฒนาแหล่งน้ำของพระองค์ท่าน ทั้งที่ยังไม่ดำเนินการ และดำเนินการแล้วยังไม่สมบูรณ์แบบ มาสานต่อดำเนินการ ให้สำเร็จตามพระราชประสงค์ พร้อมทั้งนำศาสตร์พระราชา ในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับน้ำมาศึกษาพัฒนาต่อยอดดำเนิน โครงการพั ฒนาแหล่งน้ำต่างๆ ให้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ชาติและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี รักษาการอธิบดีกรมชลประทานกล่าว